ราชวงศ์ฮั่น แบ่งการบริหารเป็น ฝ่ายนอก กับ ฝ่ายใน
(2) เงื่อนไขผลประโยชน์หรือความอยู่รอด ทำให้เกิดการเมืองที่เลวในสามก๊ก
การเมืองที่เลวมักไม่ได้เกิดจากความตั้งใจที่อยากจะไปทำร้ายใครโดยเฉพาะเจาะจง แต่มักจะสืบเนื่องจากความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ ไม่ก็ต้องทำเพื่อความอยู่รอดของตนเอง ดังนั้นการต่อสู้ทางการเมืองจึงไม่ได้จำกัดอยู่ที่ว่าเราจะสู้กับใคร แต่กลายเป็นว่าสู้กับใครหน้าไหนก็ได้ ที่จะมาทำลายผลประโยชน์ ความมั่นคง และความปลอดภัยของเรา เมื่อมีเหตุให้เกิดความขัดแย้งเช่นนี้เกิดขึ้น ความขัดแย้งนี้มักจะกลายเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องกันไปไม่สิ้นสุด ดังเช่นในตอนสิบขันทีดังนี้

อำนาจเก่า อำนาจใหม่

            เมื่อพระเจ้าเลนเต้สิ้นพระชนม์ สิบขันทีซึ่งอิงอำนาจ เดิมคือฝ่ายไทเฮา คิดสถาปนาหองจูเหียบหลานโปรด ของไทเฮาเป็นฮ่องเต้ เพื่อตนยังรักษาอำนาจในราช สำนักไว้ได้ จึงจำเป็นต้องกำจัดโฮจิ๋น เพราะโฮจิ๋น เป็นแม่ทัพและเป็นพี่ชายของโฮฮองเฮา มารดาของ หองจูเปียน ซึ่งเป็นรัชทายาทอีกองค์หนึ่ง ดังนั้น สิบขันทีจึงอ้างคำสั่ง ฮ่องเต้ให้โฮจิ๋นเข้าเฝ้าเพื่อกำจัด เสีย

 
 

             ฝ่ายโฮจิ๋นมีสายลับอยู่กับสิบขันที จึงรู้ตัวเสียก่อนโฮจิ๋น จึงจำเป็นต้องกำจัดสิบขันทีเพื่อความอยู่รอดโฮจิ๋นจึง ชิงสถาปนาหองจูเปียน ซึ่งเป็นหลานตนขึ้น เป็นกษัตริย์ ก่อน ตามที่โจโฉแนะนำ จากนั้นคิดกำจัดสิบขันที


            เมื่อการณ์พลิกผัน เพื่อความอยู่รอด สิบขันทีจึง โยนความผิดเรื่องการอ้างราชโองการไปให้ ขันที เกนหวน รับเคราะห์คนเดียวโดยตัดหัวเกนหวน มากำนัล โฮจิ๋นเพื่อให้คลายโทสะโดยอาศัยพระนาง โฮฮองเฮาซึ่งเป็นน้องสาวของแม่ทัพโฮจิ๋น เป็น ผู้ไกล่เกลี่ย จากนั้นสิบขันทีเข้าเฝ้าตังไทเฮาและ แนะนำให้ตังไทเฮาว่า ราชการหลังม่าน ตั้งหองจูเหียบ เป็นอ๋อง และแต่งตั้งพระเชษฐา เป็นขุนนางผู้ใหญ่คุมทหาร และเอาพวกขุนนาง เก่ามาใช้สอยแล้วค่อยคิดการใหญ่ต่อไป

 
 

             โฮฮองเฮาปรามตังไทเฮาตามที่โฮจิ๋นบอก ว่าเป็นหญิง ไม่ควรมายุ่งเรื่องราชกิจซึ่ง ทำให้ตังไทเฮาพิโรธ และ มีปากเสียงกันฝ่ายโฮจิ๋นอ้างพระราชโองการ ขับตังไทเฮา ออกจากวัง และกำจัดทิ้งด้วยยาพิษในภายหลัง ส่วน ขุนนางผู้ใหญ่ที่คุมทหารก็ถูกล้อมบ้านและ เอาตราตั้ง กลับคืน


            เมื่อสิ้นบุญพระนางตังไทเฮาสิบขันทีจึงต้องอิง อำนาจใหม่ โดยเข้าทางพระนางโฮฮองเฮา แต่ขณะเดียวกัน ปล่อยข่าวว่าโฮจิ๋นเป็นผู้วางยาพิษ พระนางตังไทเฮา เพื่อหวังโค่นโฮจิ๋น

 
 

             โฮจิ๋นเมื่อรู้ข่าวก็คิดกำจัดสิบขันที


            สิบขันทีจึงเข้าทางพระนางโฮไทเฮาให้ช่วยปกป้อง พวกตนซึ่ง โฮไทเฮาก็ได้ช่วยพูดให้ ว่าถ้าฆ่าขุนนาง เก่าเสีย ย่อมไม่เป็นการเคารพต่อราชบัลลังก์

 
 

             โฮจิ๋นจึงคิดอุบายเอาทหารจากหัวเมือง นำโดยตั๋งโต๊ะ เดินทัพเข้ามาในเมือง เพื่อเรียกร้องให้สังหารพวกขันที


            เมื่อขันทีรู้ข่าวว่าตั๋งโต๊ะยกทัพมาเพื่อปราบพวกตน จึงขอความช่วยเหลือจากพระนางโฮฮองเฮาซึ่ง พวกขันทีอุบายให้พระนาง รับสั่งให้โฮจิ๋น เข้าเฝ้า เพื่อพวกตนจะได้ขอให้ระงับทหารเข้าเมือง เมื่อโฮจิ๋นเข้าเฝ้าพวกขันทีก็มีมือมีดมือขาเข้า รุมตัดหัวโฮจิ๋นโยนออกมา

 
 

             เมื่อการณ์ถึงขั้นแตกหักเช่นนี้ขุนนางฝ่ายบู๊ นำโดยโจโฉ และอ้วนเสี้ยวจึงบุกฆ่าขันที และช่วยหองจูเปียน หองจูเหียบ และพระนางโฮฮองเฮาไว้ได้

   



เหตุการณ์ที่กล่าวมาทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า ทุกคนทำเพื่อแสวงหาอำนาจและความอยู่รอด ไม่ได้ทำเพื่อกษัตริย์ราชวงศ์ฮั่นหรือบ้านเมือง เมื่อใดมีเรื่องของการเมือง เมื่อนั้นจึงไม่มีเรื่องของความถูกผิด ความเมตตา คุณธรรมหรือกฎเกณฑ์ใดๆ การพยายามไม่ให้เกิดการเมืองจึงเป็นการป้องกันการแก่งแย่งแข่งขันอย่างไร้คุณธรรมและ กฎเกณฑ์อย่างดีที่สุด

สำหรับการเมืองในระดับรัฐนั้นเลี่ยงลำบากเพราะเกิดจากกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใหญ่ๆ เราพยายามควบคุมโดยใช้หลักกฎหมาย ช่วยสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่การเมืองในบริษัทเป็นสิ่งที่อาจเลี่ยงได้ เพราะทุกคนในบริษัทเป็นทีมเดียวกัน เราอาจเรียกสถานการณ์เช่นนี้ว่าการเมืองที่ดีหรือไม่มีการเมืองนั่นเอง

สามก๊ก @work อยากให้กลับมามองการเมืองในบริษัท ถ้าจะถามทั้งฝ่ายผู้บริหาร(นายจ้าง) และคนทำงานว่าอยากให้มีการเมืองในบริษัทหรือไม่ ทุกฝ่ายคงไม่อยากให้มี เพราะการมีการเมืองในบริษัท หมายถึงการมีกลุ่มอำนาจ กลุ่มผลประโยชน์ในบริษัท ซึ่งต่างก็ทำเพื่ออำนาจและผลประโยชน์ของตน ไม่ได้เล็งเห็นผลประโยชน์ของบริษัทเป็นที่ตั้ง อย่างไรก็ตามก็มักมีการเมืองเกิดขึ้นแทบทุกบริษัท จะน้อยตั้งแต่ระดับไม่รู้สึกจนกระทั่งมากถึงระดับที่ต้องระแวดระวังอยู่ตลอดเวลา

สามก๊ก @work เชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริษัทหรือฝ่ายพนักงานคนทำงาน ต่างก็ควรเลี่ยงการเมืองที่เป็นเรื่องของผลประโยชน์และอำนาจส่วนตัว การเมืองมักก่อตัวขึ้นถ้ามีการแบ่งพรรคแบ่งพวก เมื่อมีพวกมีกลุ่มก็มักจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของกลุ่ม เพราะฉะนั้นเมื่อมีการแบ่งกลุ่มเกิดขึ้น บริษัทก็ควรจะมีนโยบายสลายกลุ่มเล็ก กลุ่มน้อย ให้กลายเป็นกลุ่มเดียวกันหมด ภายในบริษัทเดียวกันนั้น การทำงานกันเป็นทีมและการปลอดการเมืองเป็นเรื่องที่ต้องสร้างขึ้น ต้องป้องกันและรักษาดูแลให้บริษัทเป็นหนึ่งเดียวอยู่เสมอ

โดยให้ทุกคนยึดมั่นถือผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก ถ้าหากมีผู้ใดเป็นหัวโจกให้เกิดกลุ่ม ในที่สุดก็จะกลายเป็นการเมืองขึ้น ซึ่งนับวันก็จะทำให้บริษัทเสื่อมลง ผู้บริหารในระดับสูงต้องเข้าใจว่าในปัจจุบันผู้สมัครงานมีมาก บริษัทควรเลือกผู้มีคุณสมบัติที่ดี คือทำตัวเองให้ปลอดการเมืองเท่านั้นที่ที่ควรอยู่ทำงานให้บริษัท ผู้ที่ทำให้บริษัทแตกแยกไม่ควรมีคุณสมบัติที่จะอยู่ร่วมบริษัทต่อไป และบริษัทที่ดีก็ควรรู้จักจัดการและสร้างให้พนักงานเป็นหนึ่ง
เดียวกันด้วย



สำหรับบริษัทที่มีการเมืองมาก สามก๊ก @work เชื่อว่าคนทำงานก็มีทางเลือกเช่นกัน เพราะยังมีบริษัทอีกตั้งมากมายที่ไม่มีการเมืองรุนแรง การทำงานอยู่ในบริษัทที่มีการเมืองแรง เราต้องคอยระแวดระวังอยู่ตลอดเวลา ความเจริญก้าวหน้าก็จะไม่เที่ยงแท้ ไม่เป็นประโยชน์กับความมั่นคงในชีวิตเลย ไม่รู้จะอยู่ให้เปลืองเวลาสร้างฐานชีวิตทำไม

สำหรับบริษัทที่มีการเมืองเล็กน้อย คนที่ไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผลประโยชน์ ก็ควรจะทำตัวเป็นกลาง ประกาศการไม่ยุ่งเกี่ยวกับฝ่ายใด เพื่อว่าอย่างน้อยท่านก็จะเป็นผู้หนึ่งที่ช่วยให้บริษัทปลอดการเมือง และทุกคนทำเพื่อผลประโยชน์บริษัทได้

อย่างไรก็ตาม การที่ทุกคนรักบริษัทหรือส่วนรวมก็ควรจะรักให้พอประมาณ เพราะหากมากเกินไปทุกคนก็มักคิดว่าบริษัทเป็นของตน ตนมีสิทธิ์ชอบธรรมที่จะจัดการทุกอย่างตามวิธีการของตนเอง โดยลืมไปว่าบริษัทก็เป็นของคนอื่นเช่นกัน ทุกคนก็ต่างความคิด จึงกันควรจะรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน



Copyright 2000 - Vichien Shnatepaporn, All Rights Reserved.
No part of this article may be reproduced, stored in a retrieval system, or transmitted in any form, or by any means,
electronic, mechanical, photocopying, recording, or otherwise, without permission.
งาน หางาน สมัครงาน ใช้ jobtopgun.com