3. พระนางโฮฮองเฮา พูดกับตังไทเฮาว่า "เราอยู่ฝ่ายใน ไม่ควรจะยุ่งเรื่องราชกิจ"

    แต่ในปัจจุบัน เรามีตัวอย่างของนางฮิลลารี คลินตันที่ทำงานสนับสนุน ประธานาธิบดีคลินตัน ทำให้ได้ชัยชนะในการเลือกตั้ง ดังนั้นการสร้างกฎเกณฑ์ว่า "คู่ครอง ครอบครัว ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกิจของอีกฝ่ายหนึ่ง" นั้นเหมาะสมหรือไม่ ?


ไม่เหมาะสม


“ไม่ควรก้าวก่ายหน้าที่การงานกันและกัน”
มนุษย์ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 มนุษย์หมายความว่า “สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล สัตว์ที่มีจิตใจสูงส่ง” กว่าสัตว์ทุกชนิดในโลกนี้ ด้วยเหตุที่มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล มีกระบวนการในการคิดที่สลับซับซ้อน ได้ก่อให้เกิดความคิดที่จะรวมกันเป็นสังคมขึ้นมาจากครอบครัว จากครอบครัวหลายๆครอบครัวรวมเป็นสังคม เราจะได้ยินคำกล่าวของท่านนักปราชญ์อริสโตเติล คุ้นหูเสมอว่า” มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” ชีวิตมนุษย์จะดีได้เมื่ออยู่ภายใต้สังคมเท่านั้น มนุษย์ได้สรรสร้าง ความเจริญ จารีตประเพณี วัฒนธรรม รวมทั้งกฎหมายที่ใช้ควบคุมความประพฤติของคนในสังคมด้วย

มนุษย์แต่ละคนนั้น มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ไม่ว่าเขาจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้ชาย ผู้หญิง คนชรา คนพิการ หูหนวก ตาบอด ต่างก็มีศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน โดยรัฐให้ความสำคัญข้อนี้คำนึงถึงความแตกต่างหรือช่องว่างระหว่างคนในสังคมได้คุ้มครองมนุษย์โดยนัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 “ มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ ของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง

สิทธิ หมายถึง ประโยชน์ที่กฎหมายรับรอง และคุ้มครองให้แก่บุคคลในเรื่องต่างๆเช่น สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในชีวิตร่างกายของตน

เสรีภาพ หมายถึง ความเป็นอยู่หรือการใช้ชีวิตของมนุษย์ ที่ไม่อยู่ภายใต้การบังคับ หรือการสั่งการของบุคคลอื่น เช่น เสรีภาพในร่างกาย,เสรีภาพในเคหสถาน,เสรีภาพในการเดินทางและเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักร,เสรีภาพในการสื่อสารถึงกัน โดยทางที่ชอบด้วยกฎหมายเสรีภาพในการการนับถือศาสนา,เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น,เสรีภาพในทางวิชาการ ,เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ,เสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ

“มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม” ดังจะเห้นได้จาก กระบวนการของสังคม ที่พยายามจะให้มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีสิทธิ์และเสรีภาพเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก ผู้ใหญ่ คนพิการ ย่อมมีสิทธิ์ เสรีภาพโดยเท่าเทียมกัน โดยพยายามคุ้มครอง เสรีภาพด้านต่างๆรวมถึงการประกอบอาชีพของกันและกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นสามีกับภรรยา ก็ไม่ควรไปก้าวก่ายหน้าทื่การงานของกันและกัน เช่น สามีประกอบอาชีพรับราชการกรมตำรวจ ภรรยาประกอบอาชีพพยาบาลต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่รับผิดชอบ มีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ ไม่ควรที่จะก้าวก่ายงานของกันและกัน สามีมีหน้าที่ตรวจจับผู้ร้าย ภรรยาไม่ควรเหนี่ยวรั้ง ไม่ให้ไปจับผู้ร้าย ในทางกลับกันสามีไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว งานพยาบาลของภรรยา เช่นกันเพราะเป็นงานเกี่ยวกับความเป็นความตายของคนไข้ การเข้าหรือเข้ากะของภรรยา กลางคืนข้างสามีก็ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว เหนี่ยวรั้งไว้ เป็นต้น จากตัวอย่างก็หาใช่เฉพาะเพียงสามี ภรรยา เท่านั้นทุกคนในครอบครัว ก็ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับหน้าที่การงานของกันและกันจนมากเกินไป ทุกคนย่อมมีบทบาทของตนเองอยู่แล้ว ไม่ใช่จะชี้นำคนอื่นในครอบครัวทุกเรื่องๆ

มีตัวอย่าง มีพ่อลูกคู่หนึ่งที่ลูกสาวพึ่งสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากสถาบันมีชื่อเสียง ประกอบกับลูกสาวบุคคลิกหน้าตาดี ลูกสาวได้ไปเริ่มงานกับบริษัแห่งหนึ่งใหม่ๆ พ่อคนนั้น ก้ไปก้าวก่ายและเข้าไปเจ้ากี้เจ้าการในบริษัทของลูกสาว เช่น ไปสังเกตการณ์บริษัท ไปดูเอกสารลับบางอย่างของบริษัท ไปนั่งเฝ้าคอยลูกสาว ทุกเช้า ทุกเย็นเป็นอยู่อย่างนี้ ซึ่งบริษัทแห่งนั้นก็อึดอัดกับพ่อลูกคู่นี้เป็นอย่างมาก ที่ไม่รู้จักมารยาทสังคมวัฒนธรรมแบบองค์กร และบทบาทของพ่อไปด้าวก่ายหน้าที่การงานของลูกสาวมากจนเกินไป ในสุดเธอก็ลาออกจากบริษัทไป

นอกจากตัวอย่างที่เห็นข้างต้น ยังมีสิ่งเล็ๆน้อยที่ได้พบเห็นอยู่เสมอ มีอยู่มากมาย ที่คนในสังคมชอบไปก้าวก่ายหน้าที่การงานของกันและกัน เช่น การกลับบ้านดึก กลับไม่ตรงเวลาของสามีหรือภรรยา อันเนื่องมาจากการทำงาน อาจจะผูกสามีหรือภรรยาไม่พอใจ ซึ่งตรงนี้เมื่อเรามอง และไม่น่าจะไปก้าวก่ายกันถึงขนาดนั้น เพราะอย่างน้อยก็แสดงถึงความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน และรับผิดชอบครอบครัวด้วย

ตามความจริงอาจจะไม่มีกฎหมายบัญญัติชัดเจนว่าผิดหรือถูกหรือให้รายละเอียดลึกลงไป แต่ดูโดยเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญมาตรา 50 “ บุคคลย่อมมีสิทธิ์เสรีภาพในการประกอบกิจการ หรือประกอบอาชีพ และการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม” ก็จะเห็นได้ว่าทุกคนต้องมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพโดยเสรี สามัญสำนึกของคนหรือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้น ย่อมตระหนักถึงเสรีภาพในข้อนี้ และเมื่อผลเกิดจากจิตใจที่มีการให้เกียรติกันระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน ย่อมที่จะไม่ไปก้าวก่ายหน้าที่การงานกัน ซึ่งเป็นเจตจำนงค์สูงสุด ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่ยึดหลัก เหตุผลที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของแต่ละบุคคล จากเจตจำนงค์หนึ่ง เป็นสอง เป็นสาม เพื่อให้เจตจำนงค์สอดคล้องกับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด โดยที่บทบัญญัติของกฎหมายอื่นใดขัดแย้งไม่ได้

ฉะนั้นแล้วเจตจำนงค์ จารีต ธรรมเนียม กฎหมายใดขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้นไม่ได้

ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการแทรกแซงหรือการก้าวก่ายหน้าที่การงานของกันและกัน ซึ่งนอกจากเป็นสิ่งไม่ดีแล้ว ยังขัดแย้งกัยเจตจำนงค์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญด้วย.